วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550

นวัตกรรม

นวัตกรรมการศึกษา
ความหมายของนวัตกรรมการศึกษานวัตกรรม หรือ นวกรรม มาจากคำว่า “นว” หมายถึง ใหม่ “กรรม” หมายถึง การกระทำเมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน เป็น นวัตกรรม หรือ นวกรรม จึงหมายถึงการกระทำใหม่ๆโดยสรุปแล้ว นวัตกรรม หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ๆที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ดีขึ้นและเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาเราก็เรียกนวัตกรรม
ประเภทของนวัตกรรม
1. เทคนิคและวิธีการ เป็นกลวิธีหรือกิจกรรมวิธีการสอน ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. สิ่งประดิษฐ์ เป็นวัสดุหรืออุปกรณ์ที่นำไปใช้ในการเรียนการสอน เช่น บทเรียนสำเร็จรูป
การนำนวัตกรรมมาใช้กับการศึกษาAsynchronous Learning คือ การนำความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การสื่อสาร และความสามารถของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ได้แก่ ระบบโทรทัศน์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งโปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆมาใช้เป็นประโยชน์ เพื่อการศึกษา
1.แหล่งข้อมูลระยะไกล (Remote Resource) ที่ต้องใช้เครื่องมือ และเทคโนโลยีต่างๆในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2.การเรียนรู้อย่างรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์
3.การเรียนแบบร่วมมือกัน เป็นการเรียนแบบช่วยเหลือกัน ซึ่งการเรียนแบบนี้คือ นักเรียนร่วมกันทำงานในกลุ่มเล็กๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายหลักร่วมกัน
4.การเรียนการสอน ที่ไม่จำเป็นต้องเรียนตามตารางสอน การเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ต หมายถึง วิธีการเรียนการสอนในรูปแบบไฮเปอร์มีเดีย(hypermedia)ที่ผู้เรียนได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต่างๆโดยผ่านระบบเครือข่าเวิลด์ไวด์เว็บเป็นสื่อในการสนับสนุนและส่งเสริมกรเรียนรู้




2.แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
ความหมายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ หมายถึง ศูนย์รวมของวิชาความรู้ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่ซึ่งมีอยู่กระจักกระกาย ทั้งชุมชนเมืองและชุมชนชนบท อันเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาที่แทรกซึมอยู่ในวิธีชีวิตของ
มนุษย์ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ค้นพบได้อย่างไม่รู้จบ
ปรเภทของแหล่งทรัพยากรเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 4ประเภท คือ
-แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล.
หมายถึง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม มีผลงานได้รับยกย่อง เป็นที่ยอมรับของสังคมเป็นต้นแบบแก่บุคคลรุ่นหลังสืบไป
-แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่ในโลกและอวกาศ ซึ่งไม่ได้หมายถึงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น แม่น้ำ ป่าไม้
-แหล่งการเรียนรู้ประเภทสื่อ หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร แยกได้เป็น 2 ประเภท คือ(1) สื่อทางด้านกายภาพ ได้แก่ สิ่งพิมพ์ วัสดุ ฟิล์ม แผ่นภาพโปร่งใส เทปบันทึกภาพ เทปบันทึกเสียง เป็นต้น เป็นตัวช่องทางผ่านในลักษณะเครื่องฉาย (2) สื่อทางด้านวิธีการ ได้แก่ รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆทั้งการใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน และเทคโนโลยีระดับสูง ได้แก่ สื่อกิจกรรม
-แหล่งการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่ หมายถึงวัตถุและอาคารสถานที่ที่มีศักยภาพเป็นแหล่งความรู้ด้วยตัวของมันเอง เช่น สถาปัตยกรรมการก่อสร้าง
ประโยชน์ของแหล่งเรียนรู้ที่มีต่อการศึกษา ประโยชน์ของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกโอกาสและสามารถมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
การนำแหล่งการเรียนรู้มาใช้กับการเรียนการสอน
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่ดีตัวเราต้องสัมผัสได้โดยเอื้อประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้จะเกิดได้กับผู้รียนทุกคนทุกเวลามีความหลากหลาย สามารถเน้นทักษะและนำไปใช้ได้จริง ผู้เรียนมีอิสระมีความคิดสร้างสรรค์และปฏิบัติได้
3.คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน
ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในกิจกรรมการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชาต่างๆนำมาใช้เพื่อการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน
ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.โปรแกรมเพื่อการฝึกหัดและการปฏิบัติ(Drill and Practica)
2.โปรแกรมเพื่อการสอน(Tutorial)
3.โปรแกรมจำลองสถานการณ์ (simulation)
4.เกมทางการศึกษา(Educational Games)
5.โปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา(Problem Solving)
ข้อดี
- ไม่จำกัดสถานที่
- สามารถเรียนจากสื่อผสม
- ทำให้ผู้เรียนเรียนได้ตามระดับความสามารถ
- ทราบผลการเรียนทันที
ข้อจำกัด
- ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ
- ขาดซอร์ฟแวร์บทเรียนที่มีคุณภาพ
- ครุภัณฑ์มีราคาสูง
การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.ใช้สอนแทนผู้สอน ทั้งในและนอกห้องเรียน
2. ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนทางไกล ผ่านสื่อโทรคมนาคม เช่น ดาวเทียม เป็นต้น
3. ใช้เนื้อหาที่ซับซ้อน
4. เป็นสื่อช่วยสอน เช่น การสอนขับเครื่องบิน
5. เป็นสื่อแสดงลำดับขั้น เช่น การทำงานของมอเตอร์รถยนต์
6. เป็นสื่ออบรมพนักงานใหม่ โดยไม่ต้องเสียเวลาสอนซ้ำๆซ้อนๆ
7. สร้างมาตรฐานการสอน
การใช้และการประเมินผลคอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อชีวิตประชาชนทั่วไป นักศึกษาจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน


4.เทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Information Technology หรือ IT สารสนเทศมีคุณลักษณะที่สำคัญอยู่ 3 ประการ
1.เป็นรูปแบบที่มีประโยชน์ นำไปใช้งานได้
2.เป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลแล้ว
3.มีคุณค่าสำหรับใช้ในการดำเนินงานและการตัดสินใจเทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา ได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยสอน การวางผนหลักสูตร
ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการเรียนการสอน
- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
- คอมพิวเตอร์นำเสนอเว็บบล็อก
- การสอนทางโทรทัศน์
- ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
ข้อดี
- เรียนรู้นอกสถานที่ได้
- การเรียนการสอนที่กว้างขวาง
ข้อเสีย
- ค่าใช้จ่ายสูง
- ขาดบุคลากรที่เชี่ยวชาญ
แนวทางการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการศึกษาการเรียนผ่านระบบดาวเทียมหรือที่เรียกว่า การศึกษาทางไกล

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก